Saturday, July 14, 2012

บอยคอตอินผาลัมอิสราเอล


ชุมชนชาวอิสราเอลก่อตั้งขึ้นจากการขโมยดินแดนของชาวปาเลสไตน์ ซึ่งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตัดสินว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เกือบครึ่งหนึ่งของดินแดนในหุบเขาจอร์แดนจะปลูกต้นอินทผาลัม   ซึ่งอินทผาลัมเหล่านั้นเป็นผลิตผลสำคัญที่ทำให้เศษฐกิจของอิสราเอลเจริญเติบโต   ในปี 2005 อินทผาลัมถือเป็นผลไม้ส่งออกหลักของอิสราเอล   โดยส่งออกถึงร้อยละ 80  และส่วนใหญ่ของอินทผาลัมถูกส่งออกไปยังยุโรปซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 10% ดังนั้นถ้าคุณจะต่อต้านการตั้งถิ่นฐานของอิสราเอล ก็ต้องต่อต้านอินทผาลัมเหล่านั้นด้วย

การหาผลประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรม
การเก็บผลอินทผาลัมเป็นงานหนักแต่นายจ้างชาวอิสราเอลจะให้ค่าจ้างแก่ชาวปาเลสไตน์เพียงน้อยนิดเท่านั้น  ระหว่างฤดูกาลตัดแต่งกิ่งอินทผาลัม  ในตอนตี 5 คนงานก็จะถูกหย่อนจากรถเครนลงบนต้นปาล์ม ซึ่งมีความสูงถึง 12 เมตร เทียบเท่ากับตึก 4 ชั้น  และพวกเขายังต้องอยู่บนต้นอินผาลัมที่แกว่งไปตามแรงลมนานถึง 8  ชั่วโมง โดยไม่มีแม้เวลาพักเข้าห้องน้ำ จนกว่ารถเครนจะมารับลงตอนหมดเวลางาน คนงานต้องเกาะติดอยู่บนต้นอินทผาลัมด้วยแขนเพียงข้างเดียว   ถ้าหากพวกเขาบ่นหรือร่วงลงไป  พวกเขาก็จะต้องตกงาน

การใช้แรงงานเด็ก
ชาวอิสราเอลชอบที่จะจ้างแรงงานเด็ก เพราะเด็กๆจะปีนต้นไม้ได้เร็ว ถึงแม้ว่าจะเป็นที่อนุญาตของทางการ แต่เด็กๆก็จะถูกทำกดขี่และถูกคดโกงได้อย่างง่าย  ครอบครัวชาวปาเลสไตน์ที่ยากจนจะถูกชักจูงให้ลูกๆของพวกเขาออกจากโรงเรียนเพื่อไปทำงานแลกกับเงินเพียงเล็กน้อย
 
          บริษัทที่มีความผิด
          บริษัทยักษ์ใหญ่ 2 บริษัทที่เกี่ยวข้องก็คือ บริษัทAgrexco และ บริษัทHadiklaim  ซึ่งบริษัท Agrexco นั้นมีรัฐบาลอิสราเอลถือหุ้นอยู่ถึงครึ่งหนึ่ง   โดยที่ 60-70% ของผลิตภัณฑ์ถูกผลิตในดินแดนที่ยึดครองไป  อินทผาลัมเหล่านั้นใช้ชื่อยี่ห้อว่า Carmel ,Jordan Plains และ Jordan Valley   ยี่ห้อ Carmel ได้อวดอ้างว่าบริษัทของพวกเขาจะจัดการเก็บเกี่ยวผลอินทผาลัมก่อนจะเข้าเดือนรอมฎอนเนื่องจากความต้องการของมุสลิมในยุโรป!  ส่วนอินทผาลัมของบริษัทHadiklaim  ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายอินผาลัมถึง 65 % ของอินผาลัมของอิสราเอลทั้งหมด  มีอินทผาลัมที่ผลิตภายใต้ชื่อยี่ห้อ King Solomon และ Jordan River  ซึ่งจะจัดส่งไปยังซุปเปอร์มาเก็ตต่างๆ รวมถึงร้านค้าอย่างมาร์คแอนด์สเปนเซอร์  , เซนเบอรี่(sainsbury’s) , เทสโก้ ,แอสด้า(Asda),เวทโทรส (Waitrose)  บางครั้งก็จะตีตราว่าเป็นผลิตภัณฑ์จากเวสแบงค์ ขอให้พี่น้องจำเอาไว้ว่าสินค้าเหล่านั้นไม่ใช่อินผาลัมจากปาเลสไตน์

คำขอร้องของชาวปาเลสไตน์

ผู้เรียกร้องสันติภาพที่เคยเข้าไปเยี่ยมเยียนชุมชนชาวปาเลสไตน์ในหุบเขาจอร์แดนพบว่าชาวปาเลสไตน์ถูกบีบบังคับอย่างช้า ๆ ด้วยกองทัพอิสราเอลที่ในอนาคตจะขยายดินแดน ชาวปาเลสไตน์ที่อยู่บริเวณนั้นจะทำงานที่Carmel  Agrexco ผู้เรียกร้องสันติภาพยังได้พูดคุยกับเด็กชาวปาเลสไตน์อีก 2 คน ซึ่งอายุน้อยกว่า 12 ปี ที่ทำงานในCarmel  Agrexco คนงานชาวปาเลสไตน์ผู้ถูกขโมยดินแดนต้องถูกบีบบังคับให้ทำงานที่ Carmel  เพื่อหาเลี้ยงครอบครัว พวกเขาได้ฝากข้อความผ่านผู้เรียกร้องสันติภาพซึ่งเป็นคำขอร้องถึงใครก็ตามที่ฟังพวกเขาว่า “พวกเขาขอร้องให้ต่อต้าน Carmel  Agrexco และบริษัทอื่นๆ  ที่สนับสนุนการยึดของดินแดนของอิสราเอล”


http://www.inminds.com/boycott-israeli-dates.php

Tuesday, June 26, 2012

บอยคอตสินค้ายิว

มาตรการบอยคอตต์สินค้าจากเขตยึดครองปาเลสไตน์เริ่มขยายทั่วโลก


สำนักข่าวตะวันออกกลาง – การรณรงค์เพื่อคว่ำบาตรบริษัทที่เกี่ยวข้องในการผลิต และจำหน่ายสินค้าที่มาจากดินแดนปาเลสไตน์ที่อิสราเอลยึดครองอยู่อย่างผิดกฎหมาย ดูจะขยายไปทั่วโลก ซึ่งโครงการนี้เป็นการรณรงค์อย่างสงบเพื่อต่อต้านการยึดครองของอิสราเอล

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลนอร์เวย์แถลงว่า หน่วยงานเงินทุนที่ใหญ่ที่สุดของรัฐบาล ตัดชื่อบริษัทก่อสร้างในอิสราเอล ที่รับก่อสร้างที่อยู่อาศัยให้กับผู้อพยพชาวยิว ออกจากการติดต่อ เพื่อแสดงให้เห็นถึงจุดยืนที่ไม่ต้องการทำงานร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการผิดกฎหมาย

ปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา Co-Operative Group กลุ่มบริษัทค้าปลีกอาหารที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของอังกฤษ แถลงยืดเวลาการคว่ำบาตรสินค้าจากเขตที่อยู่อาศัยใหม่ของชาวยิว ที่อยู่ในพื้นที่ยึดครองอย่างผิดกฎหมายในดินแดนปาเลสไตน์ โดยการคว่ำบาตรนี้ทำให้อิสราเอลสูญเสียรายได้ประมาณ 430,000 ยูโร หรือ 560,000 ดอลล่าร์

ในเดือนพฤษภาคม แอฟริกาใต้และเดนมาร์ค ประกาศให้มีการบ่งชี้ผลิตภัณฑ์สินค้าที่ผลิตจากชุมชนผู้อพยพชาวยิว ในดินแดนปาเลสไตน์ และในเดือนเดียวกันนี้ บริษัทค้าปลีก Migros ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งดำเนินมาตรการคว่ำบาตสินค้าจากเขตยึดครองอยู่แล้ว ออกประกาศจะขยายขอบเขตไปถึงสินค้าอิสราเอลที่มาจากเขตเวสต์แบ๊งค์ และเยรูซาเล็มตะวันออกอีกด้วย

เฉพาะในแอฟริกาใต้ มีการออกกฎหมายใหม่ให้สามารถดำเนินมาตรการทางกฎหมาย กับซุปเปอร์มาร์เก็ตที่จับได้ว่าขายสินค้าจากเขตยึดครองปาเลสไตน์ด้วย ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญที่จะจัดการกับบริษัทที่มีการเชื่อมโยงรับสินค้าจากพื้นที่เหล่านั้นมาจำหน่าย

Omar Barghouti หนึ่งในผู้ก่อตั้งกระบวนการรณรงค์คว่ำบาตรสินค้าจากดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกอิสราเอลยึดครองอย่างผิดกฎหมาย (BDS) กล่าวว่า BDS จะทำทุกวิถีทางที่จะขยายการรณรงค์ออกไป เพื่อให้มีการต่อต้านทั้งในทางเศรษฐกิจ วัฒนะธรรม การกีฬา และทางวิชาการ ซึ่งในอนาคตสินค้าที่มาจากเขตยึดครองนี้จะถูกมองว่า เป็นสินค้าที่มีพิษภัยสำหรับผู้บริโภค และถูกกันออกจากตลาดโลกในที่สุด   - www.muslimthaipost.com